เรือนที่ 2: เรือนแห่งทรัพย์สิน

เรือนที่ 2: เรือนแห่งทรัพย์สิน

เรือนที่ 2 หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ “เรือนแห่งทรัพย์สิน” เป็นเรือนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราเป็นเจ้าของ แต่มันไม่ได้หมายถึงแค่สิ่งของที่จับต้องได้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงสิ่งอื่นที่จับต้องไม่ได้ด้วย เช่น เราเป็นเจ้าของความรู้สึก อารมณ์ และตัวตนภายในของเราเอง ทั้งความสามารถ ความต้องการ และความปรารถนาต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราครอบครองอยู่ เมื่อเรายอมรับความเป็นจริงของสิ่งใด เราก็เหมือนกับการเป็นเจ้าของสิ่งนั้น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เรามีคือ “ตัวเราเอง”

 

การใช้ทรัพย์สินของเรา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของทางวัตถุหรือสิ่งอื่นๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คลอบคลุมอยู่ในเรือนที่ 2 นี้ด้วย ทรัพย์สินของเราควรจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตเราดีขึ้น รวมถึงชีวิตของคนอื่นด้วย และยังส่งเสริมความรู้สึกถึงความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปสู่แนวคิดเรื่อง “คุณค่า” ซึ่งเป็นหัวใจหลักของเรือนที่ 2 

 

หากถามว่าอะไรคือสิ่งที่เรามองว่ามีคุณค่า ทั้งที่จับต้องได้และไม่ได้? ทำไมเราถึงเห็นว่ามันมีค่า? ใครคือคนที่เรามองว่ามีค่า? จริงๆแล้วเรามีอะไรเป็นของตัวเองบ้าง? เราต้องการครอบครองอะไร? ทำไม? การตอบคำถามเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นสาระสำคัญของเรือนที่ 2

 

ทรัพย์สินที่เรือนที่ 2 ครอบคลุมนั้น รวมถึงรายได้ที่เราหามาได้ ความสามารถในการเพิ่มรายได้ การลงทุน และทรัพย์สินที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอื่นๆ รวมไปถึงหนี้สินก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องในเรือนนี้เช่นกัน เพราะเราต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้ มุมมองของเราเกี่ยวกับเงิน การสะสมความมั่งคั่ง (และหนี้สิน) การเงินที่ผันผวน การออม การจัดงบประมาณ และสถานะทางการเงิน ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้เรือนที่ 2 ทั้งหมด

 

สำหรับคนที่เชื่อว่าเงินสามารถนำพาเราไปสู่อิสระและเสรีภาพ คุณจะพบว่าแนวคิดนี้เข้ากันได้ดีกับเรือนที่ 2 เพราะเรือนนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างเสรีภาพส่วนตัวผ่านความสามารถและความเข้าใจทางการเงินอย่างลึกซึ้ง ทรัพย์สินที่เราครอบครองและวิธีที่เราจัดการกับมันสามารถกำหนดตัวตนของเราในฐานะมนุษย์คนหนึ่งได้

 

หากลองมองลึกลงไปอีกหน่อย อาจจะคิดว่า การมีทรัพย์สินเหล่านั้นจะช่วยให้เราได้รับการยอมรับจากสังคมจริงๆ หรือเปล่า? เราจะได้เพื่อน ได้ความรักจากคนอื่นหรือไม่? ถ้าเราใช้ทรัพย์สินของเราอย่างเหมาะสมและได้สิ่งเหล่านั้นจริงๆ แสดงว่าเป้าหมายที่ซ่อนอยู่ในการครอบครองทรัพย์สินของเราคือการใช้มันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเอง แต่ยังเพื่อคนรอบข้างด้วย

 

ถ้าทรัพย์สินของเราสามารถทำให้ชีวิตเราดีขึ้นและยังช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้นด้วย นั่นคือคำตอบของคำถามที่ว่า “สิ่งที่เราทำไป จะกลับมาหาเราไหม?” คำตอบคือ ใช่!